โทร:
+662 117 4645
อีเมล:
care@iLease.co.th
ที่อยู่:
เลขที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์
ชั้น 18 ห้อง 1801 ซอยหลังสวน
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร:
+662 117 4645
อีเมล:
care@iLease.co.th
ที่อยู่:
เลขที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์
ชั้น 18 ห้อง 1801 ซอยหลังสวน
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
อนุมัติไว ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินและเงื่อนไขของทางบริษัท อนุมัติไวรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง และรับเงินไวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการโอนทรัพย์ สามารถกู้ได้ทุกอาชีพ
การดื่มแล้วขับ! เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการสัญจรของบุคคลในท้องถนน แต่เมาแล้วขับจะเสียค่าปรับเพียงใด มาเรียนรู้เบื้องต้นไปพร้อมกัน
ดื่มแล้วขับ ปรับเท่าไหร่ ? ดื่มปริมาณแค่ไหนจึงผิดกฎหมาย
ดื่มแล้วขับ ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เพียงแค่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเท่านั้น แต่ยังเข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจรทางบกอีกด้วย หลายคนอาจสงสัยว่า ดื่มแค่นิดเดียว ควบคุมสติไหว อยากขับรถ ผิดไหม? แล้วถ้าถูกจับ ตรวจแอลกอฮอล์แล้วเกิน จะโดนปรับเท่าไหร่? วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจข้อกฎหมาย และเกณฑ์แอลกอฮอล์ในร่างกายที่อาจนำไปสู่การเสียค่าปรับหรือโทษจำคุกกัน
กฎหมายเมาแล้วขับในประเทศไทย
การขับขี่ยานพาหนะในประเทศไทย ทุกคนต้องทราบพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 ที่ได้ระบุชัดเจนว่า “ห้ามผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด” ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดเกณฑ์ไว้ดังนี้
• ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หรือไม่มีใบขับขี่ ห้ามมีแอลกอฮอล์ในเลือดแม้แต่เล็กน้อย (0 mg%)
• ผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ค่าที่ถือว่าผิดกฎหมาย คือ เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (mg%)
ดื่มแค่ไหนจึงถึงเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
การที่ร่างกายจะมีแอลกอฮอล์เกิน 50 mg% ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่า ต้องดื่มกี่แก้ว กี่กระป๋อง หรือกี่ขวด แต่ยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยร่วม เช่น เพศ น้ำหนักตัว อัตราการเผาผลาญ และชนิดของเครื่องดื่ม ตัวอย่างโดยประมาณ เช่น
• เบียร์ 1 กระป๋อง (330 ml) แอลกอฮอล์ 5%
• วิสกี้ 1 ช็อต (30 ml) แอลกอฮอล์ 40%
• ไวน์ 1 แก้วมาตรฐาน (150 ml) แอลกอฮอล์ 12-14%
ผู้ชายที่มีน้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม ดื่มเบียร์ประมาณ 1 กระป๋องครึ่ง อาจมีค่าแอลกอฮอล์ใกล้เคียงหรือเกิน 50 mg% ได้ ในขณะที่ผู้หญิงหรือผู้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าจะมีค่า มากเกินกว่า 50 mg% ทันทีจากการดื่มปริมาณเท่ากัน
โทษของการเมาแล้วขับ
ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ผู้ที่ฝ่าฝืนขับขี่ยานพาหนะขณะมีแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กำหนด จะได้รับโทษดังนี้
• ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท
• จำคุกไม่เกิน 1 ปี
• อาจถูกตัดสินทั้งจำทั้งปรับ
• ศาลอาจสั่งพักใช้ใบขับขี่ หรือเพิกถอนใบขับขี่
• ให้เข้ารับการอบรมและทำกิจกรรมบริการสังคม
กรณีที่มีการกระทำผิดแล้ว รับโทษแล้ว หากพบว่ามีการกระทำผิดซ้ำภายใน 2 ปีโทษจะเพิ่มเป็น
• ปรับ 50,000 – 100,000 บาท
• จำคุก 1 – 2 ปี
• อาจถูกตัดสินทั้งจำทั้งปรับ
• เพิกถอนใบขับขี่ทันที
กรณีที่เมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุ มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต โทษจะถูกพิจารณาในระดับที่รุนแรงกว่านี้มาก โดยอาจเข้าข่ายความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือเจตนาฆ่าในบางกรณีได้
ด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ตรวจอย่างไร?
การตรวจหาปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย ตำรวจจะใช้ เครื่องวัดแอลกอฮอล์แบบเป่า (Breath Analyzer) โดยให้ผู้ขับขี่เป่าลมเข้าไปในหลอดวัด ถ้าพบว่าค่าสูงกว่า 50 mg% จะถูกจับและส่งตรวจซ้ำด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น การเจาะเลือดเพื่อยืนยันผล หากผู้ขับขี่ปฏิเสธไม่ยอมให้เป่า หรือไม่ให้ตรวจเลือด จะถือว่ามีความผิดเช่นกัน และตำรวจมีสิทธิ์ดำเนินคดีทันที
เรียกได้ว่าการดื่มแล้วขับไม่มีข้อดีเลย แม้จะดื่มเพียงเล็กน้อยก็มีโอกาสเกินค่าที่กฎหมายกำหนดได้ และการเมาแล้วขับไม่เพียงแต่ทำให้ต้องเสียค่าปรับหรือถูกดำเนินคดี แต่ยังเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นด้วย หากต้องดื่มให้เลือกทางเลือกอื่นแทนการขับขี่ เช่น เรียกแท็กซี่ ใช้บริการรถรับส่ง หรือให้เพื่อนที่ไม่ได้ดื่มช่วยขับ เพราะความปลอดภัยและความรับผิดชอบในการใช้รถใช้ถนนเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจ
สำหรับท่านที่มีรถยนต์ส่วนตัว แต่ติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย หรือการเงินสะดุดในช่วงนี้ “สินเชื่อรถแลกเงิน” จาก Ilease เป็นอีกหนึ่ง ตัวช่วยดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณหมดปัญหาเรื่องนี้ไป โดยสินเชื่อรถแลกเงินของ Ilease ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็วทันใจ ใช้เวลาไม่นานแน่นอน
อนุมัติไว ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินและเงื่อนไขของทางบริษัท อนุมัติไวรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง และรับเงินไวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการโอนทรัพย์ สามารถกู้ได้ทุกอาชีพ